หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

AAR วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2557

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
วันอังคารได้ทำกิจกรรมจิตศึกษาร่วมกับครูประจำชั้นปี่ที่ 6 
ชื่อกิจกรรม ลองกองบอกความรู้สึก

เป้าหมาย
- พัฒนาทักษะการคิด
- มองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
- เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว
- บอกความรู้สึก ใคร่ครวญความรู้สึก

การดำเนินกิจกรรม
   ในกิจกรรมมีการให้เด็กเตรียมความพร้อมแต่เป็นเด็กโตแล้วเด็กจะรู้ตัวเอง พัฒนาการคิดโดยโดยการให้คิดท่าทางต่อจะครูเริ่มฝึกให้คิด ครูส่งลองกองให้แต่ละคนคนละ 1 ลูก สังเกตใคร่ครวญลองกองของตัวเองว่ามีความวิเศษที่เป็นตัวเขาอย่างไร เมื่อสังเกตแล้วนำมาวางไว้กลางวงกลมให้คนอาสาสลับลูกลองกอง และให้ออกไปหยิกของตนเองทีละคน เมื่อคนได้ของตนเองชิมลองกองของตัวเองบอกความรู้สึกและให้โจทย์ต่อว่า คิดว่าลำต้นของลองกองเป็นอย่างไร

ผลที่ได้จากกิจกรรม
  เด็กเริ่มคิดมากขึ้น รู้ตัว เป็นผู้นำและผู้ตาม เด็กบางคนเริ่มคิดได้อย่างมีเหตุผล สรุปจากที่ได้ทำจิตศึกษาเด็กเล็กๆชั้นเล็กจะกล้าแสดงออกมากว่าชั้นโต ขยันคิดมากกว่าชั้นโต มีความคิดที่แตกต่างกว่าชั้นโต ชั้นป.6 เขาจะเป็นตัวของตัวเองมาขึ้น ครูต้องหาวิธีกระตุ้นให้เขากล้าแสดงออกให้มากขึ้น













วันพุธสอนเด็กอนุบาล 2
  ฝึกตัวเองให้เก็บเป็นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านพานให้อยู่เพราะแต่ละคนมีความวิเศษเป็นตัวของตัวเองมาก มีความอยากรู้อยากเห็นมาก แต่คนที่ไม่นิ่งเป็นเด็กที่ฉลาดคิดมีเหตุผล ปัญหาที่เด็กไม่ค่อยนิ่งอาจจะเป็นเพราะครูไม่ค่อยได้อยู่ในชั้น แตกต่างจากเด็กอนุบาล 1 ที่มีครูอยู่ในชั้นเรียนเป็นประจำเขาจะพูดง่าย ดูแลตัวเองได้ดีกว่า เด็กอนุบาล 2 บางคนควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ต้องเรียกชื่อบ่อยครั้งเริ่มกิจกรรมจิตศึกษาเด็กจะเริ่มนิ่งถ้าเริ่มทำกิจกรรม ได้คิดปัญหาเรื่องการคิดและการกล้าแสดงออกไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือเขาไม่ยอมซึ่งกันและกัน ไม่นิ่งต้องเก็บตลอดเวลา Body Scan ยากที่จะทำต้องมีคนคุมอยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากขึ้นบอกให้เขาดูแลตัวเอง เหมือนเด็กบางคนจะต่อต้านกิจกรรมเพราะเขาไม่รู้ว่าครูให้เขาทำอะไร มีความสงสัยมาก อาจเป็นเพราะเริ่มสร้างวิธีใหม่ปรับตัวยังไม่ทัน

วันพฤหัสบดี
    ประชุมที่โรงเรียนบ้านพานเกี่ยวกับการเรียนการสอน PBL
การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมร่วมกับครูทุกคนที่ต้องมีตัดสินใจในการสอน PBL กับการสอนในโครงการการศึกษาทางไกลผ่านจานดาวเทียมตามนโยบายของรัฐบาล โรงเรียนมีการประชุมโดยมีการทกเทียงเลือกการที่จะใช้ในการสอนแต่ละคนก็มีเหตุผลในการเลือกให้ผู้อำนวยการตัดสินใจว่าจะเลือก PBL หรือ การสอนในโครงการการศึกษาทางไกลผ่านจานดาวเทียมตามนโยบาย ผลสรุปในที่ประชุม
เรื่อง แนวทางปฏิบัติการทำงานของโรงเรียนบ้านพาน รูปแบบ  การสอนแบบ PBL (Problem-based Learning)

หลังจากที่เข้าร่วมการประชุมกับคณะครูโรงเรียนบ้านพาน ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูไม่สามารถที่จะหารือข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานได้ตั้งแต่ที่เริ่มต้นของ”โครงการ Mini LPMP ของมูลนิธิเวปทูไทยเดิม"ซึ่งทำให้การทำงานไม่ราบรื่นมีแต่ปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการบริหารและการทำงานอยู่เรื่อยมาคณะครูส่วนมากก็เห็นต่างในความคิดของผู้บริหาร ฝ่ายวิชาการโรงเรียนก็มองอีกแบบจึงทำให้ครูในโรงเรียนสับสนว่าจะเรียกรูปแบบไหนแบบ PBL (Problem-based Learning) หรือ โครงการเรียนผ่านดาวเทียมของโรงเรียนวังไกลกังวลจึงทำให้ครูเป็นกังวนมากในเรื่องของคะแนนผลสัมฤทธิ์ O net , NT ของโรงเรียนจึงได้สรุปแนวคิดและมุมมองผู้บริหารและคณะครูได้ดังนี้คือ

ด้านผู้อำนวยการ นายเจริญ หล้าแก้ว โรงเรียนบ้านพาน 
    ในมุมมองของครูโครงการครู"งอกนอกะลา"การบริหารผู้อำนวยการโรงเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้รวมของการเรียนการ สอนแบบ PBL (Problem-based Learning) และไม่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับการเรียนารสอนแบบ PBL (Problem-based Learning)ทำให้การบริหารงานในโรงเรียนไม่ได้และยังไม่สามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนสอนในมุมของผู้บริหารรวมทั้งไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนรวมถึงการบริหารงานไม่ชัดเจนทำให้คณะครูขาดผู้นำในการทำงานแบบ PBL (Problem-based Learning) ส่วนด้านชุมชนผู้อำนวยการยังขาดสื่อสารปฏิสัมพันธ์เชิงบวกร่วมกับชุมชนโดยภาพรวมแล้วไม่สามารถที่จะนำทีมในการทำงานได้

ด้านครู
   หลังจากที่ประชุมคณะครูยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่มากในการสอน PBL และได้ความคิดเห็นของครูโดยรวมดังนี้
- ยังไม่เข้าใจการทำกิจกรรมโดยรวม
- การใช้คำถามในการกระตุ้นนักเรียน
- การเชื่อมโยงในแต่ละสาระวิชา
- ยังห่วงการวัดผลประเมินผล
- การใช้ภาษาในการเขียนแผน
- ความพร้อมของนักเรียน การอ่าน การเขียน

    โดยรวมแล้วครูส่วนมากไม่พร้อมที่จะร่วมมือหรือปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าเกี่ยวกับการสอน PBL ทำให้ครูท้อรวมถึงผู้นำไม่สามารถที่จะเป็นที่พึ่งหรือเป็นหลักการทำงานได้
ครูปิยะนุช พุฒหมื่น ความคิดเห็นคือครูนุชยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการสอน(ชง เชื่อม ใช้) เนื้อหา(มุมมองหรือภาพรวม) วัดผลประเมินผล(ชิ้นงานหรือภาระงานเชื่อมโยงไปหาแต่ละสาระว่าจะประเมินอย่างไร)
 ครูประไพ ชมพูมิ่ง ความคิดเห็น คือครูนุชยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการสอน(ชง เชื่อม ใช้) เนื้อหา(มุมมองหรือภาพรวม) วัดผลประเมินผล(ชิ้นงานหรือภาระงานเชื่อมโยงไปหาแต่ละสาระว่าจะประเมินอย่างไร) และมองว่าเด็กไม่พร้อมที่จะเรียนแบบ PBL  ขาดความกระตือรือร้น
ครูคำมั่น ไชยยะ ความคิดเห็นว่าการเรียนการสอน PBL บางสิ่งบางอย่างเราค่อยปรับค่อยเปลี่ยนวิธีการสอนไปทีละน้อย และขยายผลวิธีการสอนให้ชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่โรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้
ครูนฤมล ตนภู ความคิดเห็นคือการเรียนการสอนที่ทางโรงเรียนปฏิบัติอยู่ โรงเรียนยังขาดการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์เชิงบวก กับชุมชน
ครูวิภาพร ล่ำสูง ความคิดเห็นคือ ให้สอนในรูปแบบของโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล ในช่วงเวลา 08:30-14:30 น.
และสอนแบบ PBL (Problem-based Learning) ให้เด็กนักเรียนเรียกเรียนเรื่องที่สนใจในรูปแบบโครงงานในช่วงเวลา 14:30-16:30 น.

สรุป

โรงเรียนบ้านพานยังไม่พร้อมจะทำการเรียนการสอนในรูปแบบPBL (Problem-based Learning) อาจยุติการร่วมมือการเรียนการสอน PBL แต่ยังคงนำกิจกรรมจิตศึกษาและกิจกรรม Body Scan เข้าร่วมใช้ในชั้นเรียน

วันศุกร์
    ช่วงเช้าเดินทางไปโรงเรียนบ้านนาหนุนสองและช่วงบ่ายไปโรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 เพื่อปรึกษาหากันเกี่ยวกับการวางแผนของ Quarterที่3 นัด PLC ของแกนนำเรื่องการวัดผลประเมินผลเพื่อที่จะให้ 2 โรงเรียนไปในทิศทางเดียวกันและมีความเข้าใจให้ครูทุกคนเข้าใจในการวัดผลประเมินผล ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ตระหนักของครูหลายๆตน ซึ่งมีการวางแผนว่าแกนนำนำจะ นัดกัน PLC วันที่ 23-24 ตุลาคม 2557 ที่โรงเรียนบ้านนาหนุน และขอความเคลื่อนไหวที่งอกงามของโรงเรียนให้โรงเรียนประเมินนักเรียนภาพรวมของโรงเรียนของการเรียนการสอนเกี่ยวกับ PBl ที่ผ่านมาและขออนุเคราะห์ให้คุณครูทุกท่านประเมินตัวครูเองและประเมินนักเรียนของตนเองพร้อมความงอกงามในการเรียนการสอนที่ผ่านมา และแจงเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียนบ้านพานเพื่อจะมีทางช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ป่ากลางแจงการเดินทางไปอบรมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2557

สัปดาห์หน้า
    มีการวางแผนว่าจะเดินทางไปโรงเรียนนาหนุนสองเพื่อช่วยคุณครูนำผลงานขึ้นบล๊อก เพราะครูที่โรงเรียนค่อนข้างไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์อายุมากแล้ว



วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

   PLC กลุ่มเครือข่ายของโรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง โรงเรียนบ้านพาน
   
      จากการที่ได้ร่วมงานกันในการอบรมในครั้งนี้ได้เรียนรู้การประสานงานการร่วมมือกันอย่างมีความสุข อาจจะเป็นภาระงานที่ยากพออยู่สมควร แต่ทุกคนที่เป็นทีมงานก็สามารถวางแผนทำให้งานวันที่ 19 กันยายน  2557 ผ่านไปได้ด้วยดี โดยมีกำหนดการอบรมเครือข่ายครูงอกนอกกระลา
กิจกรรมจิตศึกษา
 ดิฉันรับหน้าที่เป็นผู้นำทำกิจกรรมจิตศึกษา เป็นกิจกรรมพิธีจัดดอกไม้
เป้าหมาย
1. มีสมาธิ
2. เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ
3. พัฒนาทักษะการคิด
4. ได้ความคิดสร้างสรรค์
วิธีการดำเนินกิจกรรม
เล่าเรื่องชีวิตของเจ้าลาฝึกทักษะการคิด
ให้ครูเก็บสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวแล้วนำมาวางไว้บนผ้าที่อยู่กลางห้องแล้วนำสิ่งนั้นมามาจัดเป็นสิ่งงานของตัวเองตั้งชื่อ อธิบายความหมายว่าเป็นตัวเขาอย่างไร
นำสนอมี 2 วิธี
1.นำเสนอของตัวเอง
2.เลือกฟังความคิดของใครก็ได้
นำการสอน PBL สู่สาระวิชาหลัก
กิจกรรม Body Scan
การวัดผลประเมินผล
พิธีชา
ถอดบทเรียน AAR
การนำไปใช้
      ผลที่ได้จากการ PLC ครั้งนี้เป็นการสร้างเครือข่ายให้แข็งแรง หรือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจของคุรครูที่เห็นต่างให้มองเห็นทางเดียวกัน ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นกำลังใจให้ครูที่กำลังจะเริ่มการเรียนการสอนแบบ  PBL ครูส่วนมากพึงพอใจในโครงการกระบวนเรียนรู้สู่ศตวรรษ 21





ความคืบหน้าในการเปลี่ยนแปลงหลังจากการสาธิต
บทสะท้อนการ AAR ของคุณครูประจำชั้น 
วันพุธที่ 17 กันยายน 2557
ครูอนุบาล
การกล่าวคำชื่นชมให้เด็กนั้นทำให้เด็กภูมิใจในสิ่งที่ตนเองกำลังทำ
การใช้คำว่า เด็กๆสามารถดูแลตัวเองได้ ได้ไหม เป็นการกระตุ้นให้เด็กกลับมารู้ตัวเองเพื่อที่จะได้รู้ว่าควรหยุดทำสิ่งนั้น
การสร้างวิถีให้กับเช่นก่อนเข้าห้องต้องรอคุณครูเพื่อเคารพ การรับประทานอาหารเมื่อพร้อมแล้วทุกคนจะต้องพนมมือเพื่อรอเพื่อนที่ยังไม่พร้อม
การปรับคลื่นสมองก่อนเข้าสู่บทเรียน เด็กรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขพร้อมที่จะเรียนรู้
การกล่าวยกย่อง คำขอบคุณ เด็กๆจะกล้าแสดงออกมากขึ้น
การใช้คำพูดเพื่อดึงดูดความสนใจทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น
เด็กเริ่มรักกันมากขึ้น ให้อกเห็นใจเพื่อนที่ไม่มาโรงเรียน รู้สึกห่วงใย


ครูคำหมั้น ไชยยะ
วันนี้คุณครูจัดกิจกรรมจิตศึกษาลูกเต๋าแสนกล
 เป้าหมายครูต้องการให้เด็กได้ทักษะการสังเกต
การจัดกิจกรรม
ครูให้นักเรียนนั่งสมาธิ แผ่เมตตา
ครูชูลูกเต๋าแสนกล ขึ้นแล้วใช้คำถามว่า สิ่งที่ครูชูขึ้นคืออะไร มองเห็นอะไรบ้าง เป็นอย่างไร นักเรียนแต่ละ ก็จะตอบความเป็นจริงที่มองเห็นตามที่ครูหันด้านให้ดูลูกเต๋าให้ดู
ครุให้เด็กนักเรียนร้องเพลงนับเลข 1-10 ทำท่าประกอบตามนับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2557
ครูผกามาศ ศักดิ์ดำ ครูประจำชั้นปีที่ 3
จากการเข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษาในวันนี้ของนักเรียนชั้นป. 3 สิ่งที่คุณครูได้รับจากกิจกรรมนั้นคือ
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน จากที่สังเกตเห็นได้ว่าจะเริ่มกิจกกรม โดยการเล่าสิ่งที่ได้พบเจอในขณะเดินทางว่าเจอกับสิ่งต่างๆ จากนั้นก็กระตุ้นเด็กโดยการตั้นคำถามว่า ในการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน นักเรียนพบเจออะไรบ้าง ซึ่งนักเียนก็สามารถบอกเล่าในสิ่งที่ตัวเองเจอได้
ครูได้เห็นการที่พัฒนาของเด็กในด้านการคิด นักเรียนส่วนใหญ่เริ่มที่จะมีความคิดเป็นของตนเองมากขึ้น อีกทั้งยังกล้าที่จะตอบแบบมั่นใจในสิ่งๆนั้น
นักเรียนเริ่มรู้หน้าที่ของตนเองถึงแม้สิ่งที่แสดงออกยังไม่ดีมากเท่าที่ควร แต่นักเรียนก็เริ่มเกิดการตื่นตัวในทางที่ดี เช่นการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เจอ
นักเรียนมีความสนุกกับกิจกรรมที่ครูกุ้งนำเสนอ

ครูประไพ ชมพูมิ่ง
      วันนี้ครูกุ้งได้กรุณามาฝึกกิจกรรมจิตศึกษาให้เด็กนักเรียนชั้นประจำชั้นปีที่ 3 และ 4 จากกิจรรมที่ได้ทำในวันนี้ ผลที่ได้รับ คือนักเรียนทุกคน มีความตั้งใจในการร่วมกิจกกรม รับฟังและปฏิบัติตามคำชี้แนะของครู นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สามารถถ่ายทอดความรู้นึกคิด ออกมาอย่างมีเหตุผลกล้าแสดงออก มีสมาธิและนิ่งได้ดีขึ้นกว่าเดิม
      นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 - 4 ร่วมกันบอดี้สแกน เพื่อผ่อนคลาย พร้อมที่จะเรียนในภาคบ่าย จาการสังเกต นักกเรียนให้ความร่วมมือดีมาก สงบนิ่งไม่เสียงดัง ไม่วุ่นวาย พร้อมที่จะรับในสิ่งใหม่ๆ ครูมีส่วนสำคัญมากที่สามารถร่วมกิจกรรมกับเด็ก โดยเด็กยอมรับในกิจกรรมที่แนะนำ โดยเด็กร่วมกิจกรรมอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นผลดีต่อตัวโดยตรง พร้อมที่จะเรียนในภาคบ่ายต่อไป
       สุดท้ายขอขอบคุณครูกุ้งเป็นอย่างมากที่มีการสาธิต การทำกิจกรรมจิตศึกษา เวลาทำบอดี้สแกน ให้กับเด็กนักเรียนเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในวันต่อไป ของครูประจำชั้น




วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557

จิตศึกษาของพี่ปอ 3 - 4 โรงเรียนบ้านพาน

ชื่อกิจกรรม ดอกรักหรรษา

เป้าหมาย- ให้เด็กมีสมาธิ
- เป็นผู้นำและผู้ตาม
- เรียนรู้พยัญชนะต้น
- ให้เด็กเกิดทักษะการคิด

การดำเนินกิจกรรม- เตรียมเด็กให้พร้อม โดยการให้เด็กคิดท่าต่อกัน
- ครูชูกล่องให้ดูแล้วถามเด็กเห็นอะไร มี 3 คนเท่านั้นที่ตอบ
- ชูถุงดอกรักให้ดูแล้วถามต่อเห็นอะไร เด็กเริ่มมีคำตอบที่หลายหลายมีคนช่วยตอบหลายคน
- ให้เด็กส่งกล่องดอกรักให้กันโดยไหว้ก่อนรับและขอบคุณที่บริการ
- ให้เด็กสร้างพยัญชนะต้นชื่อเล่นของตนเองและนำเสนอ
- ให้เด็กสร้างอะไรก็ได้ที่เด็กอยากสร้าง เด็กสมารถสร้างสิ่งต่างที่หลากหลายและไม่เหมือนกัน


บันทึกหลังกิจกรรม     ความรู้สึกเราต้องใจเย็นให้เขาจัดการตนเองก่อน ตอนแรกเด็กไม่เข้าใจเป้าหมายของกิจกรรมคิดท่าต่อกันยังไม่สนใจรอคุณครูกระตุ้นบอกให้รู้ตัว ทำรอบที่สองเริ่มเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันแต่มีบางคนที่ยังดูแลตัวเองใม่ได้ยังไม่ยอมรับความคิดของเพื่อนบอกให้เพื่อนทำตามตนเอง รอบที่สามเด็กเข้าใจเป้าหมาของครูที่ถึงใครคนนั้นจะเป็นผู้นำที่ให้เพื่อนทำตามทำต่อกันจนถึงคนสุดท้าย กิจกรรมให้เด็กสร้างพยัชนะต้นของชื่อเล่นของตนเอง เด็กเริ่มกล้าพูดมาขึ้น กิจกรรมสร้างอะไรก็ได้เด็กสร้างที่ตนเองคิดเอง กล้านำเสนอผลงานของตนเองให้เพื่อนฟัง ไม่ต้องให้ครูเรียกชื่อ เด็กเกิดความกล้าแสดงออกถ่ายทอดความรู้สึก ทุกคนเริ่มยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน วันนี้กิจกรรมผ่านไปด้วยดี เด็กสนใจในกิจกรรมมาก และตั้งใจ เป็นเด็กน่ารักทุกคน











วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 17 กันยายน 2557
จิตศึกษาของพี่ป.2 

ชื่อกิจกกรมไม้บล๊อกวิเศษ
เป้าหมาาย
-การสังเกตสิ่งต่างๆ
- การกล้าแสดงออก
- เห็นคุณค่าของสิ่งของ
- การเสียสละ

การดำเนินกิจกรรม
- เตรียมความพร้อมให้กับเด็กโดยท่าเบรนยิมอย่างช้าๆ
- เล่าเรื่องสร้างสตอรี่ให้เด็กได้เกิดความสนใจ วันนี้คุณครูเดินเข้ามาโรงเรียนเจอคุณลุง คุณลุงฝากของขวัญมาให้เด็กๆแต่ด้วย- - ภาระกิจของคุณลุงเยอะมา เอามาเองไม่ได้ จึงฝากคุณครูมาแทน 
- นำกล่องไม้บล็อกมาให้เด็กๆดู ถามว่าเด็กๆเห็นอะไรค่ะ
- ส่งกล่องไม้บล๊อกให้เพื่อนเขาจะไหว้ก่อนและขอบคุณที่ให้บริการ
- ให้เด็กสังเกตไม้บล๊อกของตนเองว่ามีลักษณะอย่างไร มีความเป็นตัวเองอย่างไร รู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสไม้บล๊อก
- นำไม้บล๊อกไปวางตรงกลางวงกลมที่ละคนโดยจะรู้ตัวว่าใครจะไปวางก่อนจะไม่ไปวางพร้อมถ้ามีคนไปพร้อมจะต้องมีคนที่ต้อง- 
เสียสละให้เพื่อนวางก่อนมองจากความรู้สึกเอง
- ขออาสาสมัคร 1 คน ออกมาสลับไม้บล๊อกให้กระจาย
- ให้เด็กมองแล้วออกไปหยิบไม้บล๊อกของตนเอง
- กลับมานั่งสังเกตแล้วถ้าไม่ใช่ให้เอาไปวางที่เดิม(ให้รู้ตัวของตนเอง)
- เมื่อทุกคนได้ไม้บล๊อกของตนเองเราจะส่งไม้บล๊อกให้กับเพื่อนตามจังหวังเพลงไปพร้อมเสียงเคาะของไม้บล๊อก
- เมื่อเพลงจบถามความรู้สึกของเด็กและเริ่มอีก1ครั้ง ถามความแตกต่างจากรอบที่1และ2

บันทึกหลังกิจกรรม
     เด็กสนใจมากกับกิจกรรม เด็กๆตั้งใจ เด็กชอบกิจกรรมจิตศึกษา สังเกตเห็นเด็กเริ่มคิดกล้าตอบกล้าแสดงความคิดเห็นดีใจและภูมิใจมากที่กับเด็กคนหนึ่งซึ่งครูประจำชั้นบอกว่าไม่เคยอยู่นิ่งก่อกวน หรือมีปัญหาสมาธิสั้น แต่วันนี้ดิฉันชงให้เขาว่าวันนี้พี่ซูกัสจะเป็นผู้ช่วยครูดูแลเพื่อนทุกคนที่เพื่อนที่น่ารักเขาจะตั้งใจและอยู่ข้างดิฉันมองที่ดิฉันทำตามดิฉันเป็นเด็กน่ารักเหมือนกับเด็กปกติ และสามารถคำถามที่แตกต่างจากคนอื่นได้ดีมาก






Body Scan ของพี่ปอ 2
     เด็กๆสามารถดูแลร่างกายของตนเองได้ใช้เวลา 5 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำ Body Scan เตรียมร่างกายให้พร้อม ให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จิตใจมาอยู่กับตัวเอง ดูแลร่างกายของตนเองได้ เด็กบางคนที่ยังดูแลไม่ได้เราจะส่งกำลังใจไปให้ เมื่อเด็กพร้อมเราจะเล่านิทานให้เด็กได้จินตนาการตามวันนี้เป็นนิทานเรื่อง กระแตไล่ไม้ เป็นนิทานที่สอดแทรกการช่วยเหลือพ่อแม่สร้างความมีน้ำใจ และมีความรับผิดชอบ เมื่อเด็กลุกขึ้นมาเด็กถึงเหมือนจะนอนหลับแต่เขาสามารถตอบมามาได้ว่าเรื่องเล่าของนิทานสื่อให้เห็นถึงอะไร





วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557



การสร้างวิถีอนุบาลที่โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่166


วันจันทร์
      วันนี้เริ่มทำกิจกรรม Body Scan กับเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 เป้าหมาย ให้เด็กได้ผ่อนคลายร่างกาย สมองและจิตใจ ให้จิตใจอยู่กับตัวเอง เมื่อเด็กได้ผ่อนคลายแล้วเด็กจะตื่นตัวมากขึ้น นิ่งขึ้น มีสมาธิ ฟังครูและสนใจครูมากขึ้น เราจะให้เด็กมีคลื่นสมองต่ำทำให้เป็นคนจิตใจสงบ เยือกเย็น สุขุม มีอารมณ์ดี เบิกบาน ความคิดสร้างสรรค์สูง สมาธิสูง มีความจำดี และมีพลังความคิดด้านบวกสูง มองโลกในแง่ดี เราสามารถสอดแทรงคุณธรรมจริยธรรมไว้ในช่วงที่เด็กเริ่มนิ่ง มีสมาธิได้โดยเด็กจะซึมซับโดยไม่รู้ตัว เด็กบางคนอาจจะไม่นิ่งแต่เขายังนอนฟังเราจินตนาการตามเราแต่เราต้องมีเสียงเล่าเรื่องที่อ่อนโยน เสียงต้องมีอารมณ์จินตนาการตามบทนิทานตามไปด้วย
 

กิจกรรมจิตศึกษาการร้อยรูกระดาษตามจินตนาการ
เป้าหมาย
1. ให้เด็กมีสมาธิ รู้ตัว ใจจดจ่อ
2. เด็กมีความคิดจินตนาการสร้างสรรค์
3. เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น
4. ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
       

       วันนี้เริ่มทำกิจกรรม เด็กสนใจเรื่องที่เล่าให้ฟังที่เราสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขา มองตาสบตาเราเมื่อใช้ใช้สายตามองรอบๆเด็กทุกคน เด็กน่ารัก ตั้งใจมากสำหรับเด็กอนุบาล 2 เด็กตั้งใจทำกิจกรรมสามารถตอบเราได้ว่าเขาร้อยเป็นรูอะไร มีทั้ง ภูเขา บ้าน พัด จักรยาน สายรุ้ง และสามารถบอกเหตุผลได้ เด็กสามารถคิดได้สร้างสิ่งที่เขาเจอเป็นประจำ เป็นสิ่งอยู่รอบตัวเด็ก แต่ก็มีคนที่ยังไม่สามารถตอบได้ประมาณ 3 คนอาจเพราะภาษาเราเขายังไม่เข้าใจ เพราะส่วนมากเขาใช้ภาษาชนเผา ม้ง เมี้ยน
วันอังคาร
       วันนี้กิจกรรม Body Scan  ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 เด็กตัวเล็กๆมองดูคุณครูคนใหม่อย่างจริงจัง ด้วยความที่เขาเป็นเด็กมากคำบางคำเขายังไม่สามารถเข้าใจได้เขาจะมองที่ปากเรา เด็กน่ารักสามารถดูแลตนเองได้เป็นบางคน เขาจะใช้การสังเกตของเพื่อนรอบข้างว่าครูกำลังให้เขาอะไรอยู่ 
กิจกรรมจิตศึษาให้เด็กสร้างผลงานจากหลอดด้ายและเชือก
เป้าหมาย
1. เด็กมีความคิดสร้างสรรค์
2. เรียนรู้เกี่ยวกับสี
3. มีสมาธิจดจ่อ
4. รู้จักสังเกต


     เมื่อเด็กเริ่มทำกิจกรรมเด็กมีสมาธิเสียงที่คุยเริ่มหายไปตอนที่ครูบอกว่าเริ่มทำได้ เด็กจดจ่ออยู่กับรูที่เขาพยายามเอาเชือกสอดรูเข้าไป เด็กเรียนรู้สีจากสีเชือกสีต่างๆและสีจากหลอดด้าย เด็กบางคนสามารถบอกได้ ปัญหาที่พบกับอนุบาล 1 เด็กฟังเราไม่รู้เรื่อง ต้องพูดช้าๆ หาคำที่เข้าใจง่าย แต่เห็นเด็กๆพยายามฟังเรามองเราก็รู้สึกชื่นใจ

กิจกรรมการมอบความรัก
       สังเกตเด็กบางคนดีใจที่จะได้กอดกับครู เขาจะนั่งเป็นเด็กที่น่ารักรอคุณครูเรียก ตั้งอกตั้งใจมาก เมื่อเขาได้กอดเราเขายิ้มอย่างมีความสุข บางคนก็เขินอาย บางคนก็กอดเรานาน ครูประจำชั้นเล่าให้ฟังว่าเด็กบางคนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ไม่มีผู้ใหญ่ดูแลก็มีอยู่กับพี่ๆอย่างโดดเดี่ยว ขาดความอบอุ่น เมื่อเด็กได้รับความรักของคุณครูก็อาจจะเติมเต็มส่วนที่ขาดได้บ้าง















 

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้ PBL นอกสถานที่ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
   
         กิจกรรมที่เราทำมีเป้าหมายให้เด็กได้ออกไปสัมผัสกับประสบการณ์จริง เห็นสถานที่ที่จริง ได้รับรับความรู้จากผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ มีบรรยากาศที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

กระบวนการที่จะเกิดขึ้น
1.เด็กได้คิดโจยท์ ตั้งคำถามที่อยากรู้ได้ด้วยตัวเอง
2. เด็กได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้ช่วย (อ่านให้ฟัง)
3. เด็กเจอกับประสบการณ์ใหม่ทำให้อยากที่จะเรียนรู้

การไปเรียนรู้นอกสถานที่ทำให้เด็กได้เจอประสบการณ์จริง ของจริง สนุกสนานกับการเรียนรู้ เกิดการเรียนได้เร็วขึ้น เด็กสามารถกล้าแสดงออก มีคำถามมากขึ้น และกล้าที่จะถาม เกิดทักษะการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดูแลซึ่งกันและกัน














อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว
        เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดของเด็กชายคนหนึ่ง ชื่อ หิน อาศัยอยู่กับ พ่อ แม่ และสาวชื่อน้ำ หินเป็นเด็กผู้ชายมีความคิดจินตนาการชอบเล่นก้อนหิน มีความคิดที่มีคำถามกับตนเองตลอดเวลา บอกเล่าความรู้สึกของเขาตั้งแต่เด็กวัย 5 ขวบ เพื่อนของเขาจะมาจากการสร้างจินตนาการ เช่น ก้อนหิน กบ ใบไม้ และมีนางฟ้าสีเขียนเป็นเพื่อนตลอดเวลา ครอบครัวของหินบางส่วนอาจมีปัญหาบ้างแต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ชีวิตของหินมีเพื่อน ชื่อ โจด ครอบครัวของโจดมีอาชีพเก็บขยะขาย โจดเป็นเด็กน่าสงสารอยากเรียนหนังสือ แต่ด้วยสภาพและฐานะทำให้โจดไม่ค่อยได้มาเรียนหนัสือ หินกับโจดชอบเล่นดีดก้อนหินด้วยกัน เรียนโรงเรียนเดียวกัน 
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วรู้สึกว่า หนังสือสื่อให้รู้ว่าความคิดความรู้สึกของเด็กคนหนึ่งที่อ่านแล้ว ทำให้รู้สึกว่าความคิดไม่มีขีดจำกัดสามารถจินตนการได้อย่างสร้างสรรค์

ตอนที่ชอบที่สุด
 ตอนไม้เรียวของครูปอ 2
      เพราะมันเหมือนชีวิตของดิฉันและทำให้เรารู้ถึงความรู้สึกของเด็กที่เขากำลังรู้สึกถึงเรา ครูที่ไม่เข้าใจเด็ก ตัดสินใจด้วยความไม่เข้าใจและใช้ความคิดของตนเองตันสินด้วยความไม่เข้าใจใช้ความคิดของตนเองทำร้ายเด็ก นึกถึงคำพูดของ หิน ว่าครูได้สูญเสียโอกาสที่ทำให้ผมรักไปอีกครั้งจนหมดไป  ฟังดูแล้วความรู้นี้ทำให้รู้สึกหดหู่ใจ อยากให้ครูที่ชอบใช้ไม้เรียว หรือใช้อารมณ์ความรู้สึกตัดสินเด็กอ่านตอนนี้แล้วจะได้รู้ความรู้สึกของเด็กที่มีต่อครูตอน ตี ด่า ดุ คุกคามเด็ก การที่จะให้เด็กเกิดการเรียนรู้นั้น เราต้องเข้าใจเขาก่อนและค่อยดูแล เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ ถ้าเราไม่เข้าใจใช้อารมณ์เป็นเกณฑ์ตัดสิน เราก็จะไม่ได้รับโอกาสที่ให้เขารักอีกต่อไป (น่าเศร้า)

ศิรินันท์ จันทร์ปุนะ (ครูกุ้ง)

AAR รายสัปดาห์วันที่ 12 กันยายน 2557


การ AAR รายสัปดาห์

 การ  AAR ในวันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
 เป้าหมายของการประชุมในวันนี้
1. การวางแผนของโครงการ PLC ที่โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166
 2. การวางแผนงานที่จะดำเนินในสัปดาห์
 3. สรุปรายสัปดาห์

 การดำเนินงาน
 1. กุ้งกับพี่ท๊อปเดินทางไปโรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 วางแผนและเขียนโครงการกับคุณครูอนุชา ศักดิ์ดา
 2. กุ้งได้ไปคุยกับคุณครูอนุบาลเรื่องการสร้างวิถีอนุบาลร่วมกันในวันที่ 15 - 16 กันยายน พ.ศ. 2557
 3. ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 พี่ท๊อบกับพี่ต้อมจะไปวางแผนกิจกรรมที่จะจัด PLC ที่โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166
 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
 4. กุ้ง พี่ต้อม พี่ท๊อบ สรุปกิจกรรมที่เราทำร่วมกันพาเด็กไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ในเมืองน่าน สังเกตพฤติกรรมครู และเด็กที่ได้ออกมานอกสถานที่ การร่วมมือ การเอาใจใส่เด็ก การกระตุ้นให้เด็กเกินการเรียนรู้ เด็กมีความกระตือร้น สนใจกับที่ครูตั้งโจทย์แล้วเด็กพยายามหาคำตอบ สามารถบอกความรู้ที่เกิดขึ้นได้ ครูบางท่านเปิดโอกาสให้กับเด็กมากขึ้น เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีได้อย่างรวดเร็ว มีคำถามมากขึ้นกล้าถามกล้าตอบกับวิทยากร กล้าแสดงออกมากขึ้น

 จากที่ AAR กัน
 เรา 3 คนจะกระตุ้นครู และผู้อำนวยการของโรงเรียนบ้านพานให้ถึงที่สุดเกี่ยวกับ การให้ครูให้อิสระในการคิดของเด็ก ถามความคึบหน้ากับผู้อำนวยการเพื่อให้ผู้อำนวยการได้ลงมาเห็นกิจกรรมในชั้นเรียนมากขึ้น และนัดครูทุกคนที่ไปดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศ 1 ที่ผ่านมา วางแผนจัดกิจกรรมให้กับคนที่ไม่ได้อย่างบรรจุเป้าหมายได้

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการจัดกิจกรรมจิตศึกษาและบอดี้สแกรน


        วันจันทร์พาเด็กอนุบาลเดินสำรวจธรรมชาตรอบๆโรงเรียน ไปดูแมลงกลางสนาม ดูบ่อกบหลังโรงเรียน สังเกตท้องฟ้า เด็กดูสดใส เริ่มมีคำถามเกิดการอยากรู้อยากเห็น เด็กสนุกหัวเราะยิ้มแย้ม เด็กสังเกตแมลงปอแล้วพูดเป็นภาษาบ้าน เรียนว่าแมงกระบี้ ดูตัวเพลี้ยตัวเล็กที่ซ่อนตัวอยู่ที่หญ้ากลางสนาม



       วันจันทร์นี้เป็นวันพระพาเด็กไปไหว้พระที่อยู่ในหมู่บ้าน เด็กเมื่อเขาวัดแล้วเขาจะเรียบร้อยเพราะก่อนไปเราเรียนรู้การปฎิบัติตนที่ดีก่อนไปวัดร่วมกัน เราช่วยกันคิดกิจกรรมที่ไปที่วัด คือ เราจะไปไหว้พระทำบุญเราจะเดินจงกลม และนั่งสมาธิ สังเกตเห็นว่าส่วนมากต้องใจทำกิจกรรมจากกิจกรรมที่เด็กคิดขึ้นมาเองได้เป็นอย่างดี ในระหว่างที่เด็กทำสมาธิ ได้เล่านิทานในระหว่างการนั่งสมาธิและพูดสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับนิทานไปด้วย



        เมื่อกับมาจากวัดได้มาทำกิจกรรมจิตศึกษา โดยการไปทำบุญมาแล้วให้เด็กมอบบุญที่ทำมาส่งเป็นความรักให้กับคนที่เด็กๆรัก เพื่อให้เด็กได้มีจิตใจที่สงบ รู้จักให้ความรักแก่ผู้อื่น รู้สึกเห็นมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ เด็กตื่นเต้นมองแปลกๆในกิจกรรมที่ครูทำขึ้น บางคนตอนแรกไม่สนใจ คุยกันแต่เริ่มด้วยการจุดเทียนเด็กเริ่งสนใจกิจกรรม หันมามองแลดูกิจกรรมที่ครูได้จัดขึ้น เด็กตั้งใจในการพูดมากเมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วจะช่วยเด็กได้มีทักษะด้านการคิดมากขึ้น แสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น กล้าแสดงกล้าพูด เริ่มคิดอย่างมีเหตุผล




กิจกรรมบอดี้สแกรนช่วงบ่ายของประถมศึกษาปีที่ 1

         เริ่มทำตั้งแต่วันจันทร์ สังเกตเห็นว่าวันแรกเด็กๆไม่ค่อยนิ่งยังไม่รู้เวลามีคำถามเวลาทำตอนบอดี้สแกรนเราต้องถามให้เด็กรู้จักว่าเวลาอะไรตอนนี้ เมื่อเราส่งคำถามเด็กเริ่มรู้ตัวเอง วันอังคารเด็กเริ่มนิ่งปัญหาในการทำบอดี้สแกรนน้อยลง เด็กเริ่มนิ่งนอนตามท่าที่ครูบรรยาย โดยจะรู้ตัวเองว่าควรนอนแบบไหนที่จะทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย วันพุธเด็กรู้ตัวเองมากขึ้นนอนตามคำบรรยาย ฟังนิทานที่สอดแทรกการเป็นเด็กดี วันนี้เด็กเป็นคนเลือกนิทานมาเองแล้วให้ครูให้ฟังตอนทำบอดี้สแกรนเป็นนิทานเรื่องเรื่องราวของจระเข้ ประเภทและนิสัยของจระเข้ เราจึงสอดแทรกกลับมาสู้ตัวเด็กว่านิสัยของจระเข้ดุร้าย ถ้าเราดุร้ายเหมือนจระเข้จะเป็นอย่างไร ตั้งคำถามให้เด็กได้ฝึกคิด