หน้าเว็บ

เป้าหมายหลัก

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

AAR ของวันที่16-20 มีนาคม 2558
สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่
ทักษะที่ได้
สิ่งที่เข้าใจมากขึ้นและสามารถนำไปใช้
ในสัปดาห์นี้ได้เดินทางไปร่วมอบรมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่จะมีความเข้าใจเพิ่ม
การวางแผนของการทำงานเป็นทีม
การจัดกิจกรรมในช่วงของการอบรม
การนันทนาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน เกมวิวาห์เหาะ เกมหมวกวิเศษ ฯลฯ
กระบวนการของกิจกรรมจิตศึกษาStep จิตศึกษา  เพื่อตอบเป้าหมายการศึกษา ได้ใคร่ครวญชีวิต ตนเอง ผู้อื่น 
1.สงบ มีสติ
    2.กิจกรรมหลัก
    3.กิจกรรมจบ ขอบคุณ
     ถ้าได้ใคร่ครวญมาก  จะนำมาสู่การเข้าใจตนเอง เข้าใจชีวิต เข้าใจสิ่งต่างๆผลที่เกิดกับเด็กเล็กจะมีสมาธินานขึ้น เห็นคุณค่าทุกสรรพสิ่ง
- Body scan 
เป้าหมาย  
1.รู้สึกผ่อนคลาย
2.สงบ 
การฝึกฝนสติ บ่อยๆจะทำให้กลับมารู้ตัวเร็ว  จะชำนาญ และกลับมารู้ตัวเร็วลึก  ให้เห็นการเกิดขึ้น  มีอยู่และดับไป เช่น ตามความรู้สึก เจ็บ ปวด หายไป
การBody scan
นอน
นั่ง
ยืน
บางส่วนของร่างกาย
ธรรมชาติของสมองและพฤติกรรมสมอง
สมองกับการจำ 
ภาพ,สี,เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน,โดดเด่ด,ครั้งแรก,ครั้งสุดท้าย,ประทับใจ,ซำ้ๆ,ได้ทำ ได้ยิน ได้เห็น, สภาวะให้เหมาะสม, ได้ผ่อนคลาย, จินตนาการ, การจัดระบบข้อมูล
ประเภทของการคิด คิดเชิงเหตุผล
คิดวิเคราะห์/สังเคาะห์
มโนทัศน์
วิจารญาณ
คิดเชิงสร้างสรรค์
คิดสร้างสรรค์
คิดจินตนาการ
คิดเชิงอนาคต
คิดเชิงกำกับ รู้ตัว
เครื่องมือคิด
ความเข้าใจในการพัฒนาการด้านสมองของเด็ก
เข้าใจถึงการทำงานขององค์กร จากการเข้าฐานแต่ละฐานการเรียนรู้
การวางแผน
การทำงานเป็นทีม
การทำงานอย่างมีเป้าหมาย
ความกระตือรือร้น
ได้ฝึกทึกษะการคิด
การฝึกประสบการณ์จากสนามจริง
การสื่อสาร
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย
การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ

เข้าใจถึงกระบวนการของการจัดกิจกรรมของแต่ละวันที่มีเป้าหมายกับผู้เข้ารวมอบรม
เข้าใจถึงเป้าหมายของกิจกรรมจิตศึกษาและBody Scan
เข้าใจกระบวนการทำแผนบูรณการณ์ PBL

เข้าใจถึงกระบวนการทำแผน PBLจึงเป็นโอกาสอันควรแก่การคิด  คิดค้นหน่วยการเรียนที่สนุกได้ทั้งครูและเด็กสำหรับปีการศึกษาหน้า ด้วย 4 คำถาม หลัก
1_อะไรคือสิ่งที่เด็กจะเรียน_. ปรากฏในชื่อหน่วย_เป้าหมายของหน่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นแก่นจริงๆ
2_จะให้เด็กเรียนสิ่งนั้นอย่างไร _ปรากฏในกิจกรรมของแผน ซึ่งต้องเป็นActive Learning
3_อะไรคือคุณค่าที่เด็จะได้เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามกิจกรรม. หมายถึงคุณลักษณะ ทักษะ และความรู้ปลีกย่อยที่เป็นองค์ประกอบของความเข้าใจหลัก. _สิ่งนี้จะปรากฏอยู่ตรง Outcome ของแผน
4_จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ในสิ่งเหล่านั้นแล้ว  _ปรากฏอยู่ในช่องOutput ของแผนที่เป็นชิ้นงานภาระงาน (จากครูใหญ่)
การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน
การเสริมแรง



วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 3 -7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สิ่งที่ได้เรียนรู้เรียน
  1. การวางแผนในการทำงาน
  2. ปัญหาที่เกิด
  3. การเกิดการเรียนรู้
การวางแผนในสัปดาห์ได้ทำกิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะ เป็นการเต้นประกอบเพลงเพื่อการศึกษา/เพลงร่วมสมัย กิจกรรมเริ่มแรก
  1. ร้องเพลงสวัสดีกล่าวคำทักทาย ร้องเพลงให้ร่างกายได้ตื่นตัว เพลงบอกรักยามอากาศเช้าๆ บริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาด้วยเพลงนิ้วอยู่ไหน สอดแทรกเพลงนับเลขเป็นเพลงนับลูกปลา 5 ตัว 
  2. ขอคาถาวิเศษเรียกดอกบัวน้อย กล่าวทักทายสวัสดีคุณครูมอนีเตอร์ทำหน้าที่นำปฏิบัติ
  3. ถามวันกับเด็กเพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวันที่และวันทั้ง 7 ของสัปดาห์เรียนรู้เรื่องจำนวน นับเพิ่ม
  4. วันนี้เป็นวันที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง วันเเพ็ญเดือน 12 ครูจึงมีเพลงรำวงลอยกระทงมาฝากเด็ก เด็กร้องเพลงรำวงลอยกระทงพร้อมกัน
  5. เด็กออกมารำวงลอยกระทงพร้อมร้องเพลงรำวงลอยกระทง เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอยู่กับที่และเคลื่อนที่


ผลที่ได้รับจากกิจกรรม
จากการจัดกิจกรรมวันนี้เป็นวันลอดกระทงมีการสอดแทรงเกี่ยวกับวันลอยกระทงไปในเพลงรำวงวันลอยกระทง เด็กตั้งใจร้อง และสังเกตเห็นเด็กบางคนร้องได้แล้ว แต่เด็กบางคนไม่รู้จักเลย เด็กได้เดินรำวงเพลงรำวงวันลอยกระวงเป็นวงกลมได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนานจากท่ารำตั้งวงเป็นท่าพื้นฐานของนาฏศิลป์ไทย เด็กบางคนไม่เคยรำก็สังเกตเห็นยังไม่กล้าแสดงออกแต่คุณครูกระตุ้นด้วยคำชมเด็กที่ยังไม่มั่นใจเริ่มกล้าที่จะรำพร้อมกับร้องเพลง

กิจกรรมในวันศุกร์ได้ลงมือปฏิบัติกิรรมในชั้นเรียนตอนเช้า
เช้าเด็กเสร็จจากกิจกรรมกิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะ กิจกรรมในชั้นเรียนแรกเป็นกิจกรรม Body Scan ให้เด็กได้พักผ่อนร่างกายของตัวเอง ให้ร่างกายของตัวเองได้ผ่อนคลาย ให้สติกับมาอยู่กับตัวเอง เด็กอนุบาลจะนอนเป็นพี่ปลาดาว พี่ปลาดาวมีเจ้าหญิงน้อยเป็นเพื่อน คุณครูเริ่มเล่านิทานเกี่ยวกับเจ้าหญิงน้อยกับแม่มดใจร้าย  ทุกคืนยามที่เจ้าหญิงน้อยเหงานอนไม่หลับ เจ้าหญิงน้อยจะไปมองดูดวงดาวกับดวงจันทร์ที่หน้าต่าง ดวงดาวและดวงจันทร์เป็นเพื่อนเจ้าหญิงน้อยแต่แม่มดพยายามกลั้นแกล้งให้เจ้าหญิงน้อยต้องอยู่คนเดียวไม่มีเพื่อน แม่มดเห็นว่าเจ้าหญิงน้อยมีเพื่อนเป็นดวงดาวและดวงจันทร์จึงสะกดนำดาวจันท์และดาวดาวไปขังไว้ คืนวันต่อมาเจ้าหญิงน้อยมามองดูพี่ดวงดาวและดวงจันทร์แต่มองแล้วท้องฟ้าเงียบไม่มีสิ่งใดๆว่างเปล่า เจ้าญิงน้อยเห็นเป็นเช่นนั้นจึงนั่งร้องให้ออนวอนของนางฟ้ากับเทวดาให้บอกดวงดาวและดวงจันทร์ให้พาเข้านอน นางฟ้าเทวดาได้ยินเสียงร้องไห้ออนวอนสงสารเจ้าหญิงน้อย จึงมากระซิบบอกให้เด็กส่งพลังร่วมเป็นเพื่อคลายมนต์สะกดของแม่มด เมื่อเด็กที่น่ารักร่วมพลังแล้วมนต์สะกดของแม่มดถูกทำลาย แม่มดนิสัยไม่ดีจึงคลายเป็นก้อนหิน ดวงดาวและดวงจันทร์ก็กลับมาอ่บนท้องฟ้ายามค่ำคืนส่งให้เจ้าหญิงน้อยหยุดร้องไห้และเข้านอนนอนหลับฝันดี เด็กๆร่วมพลังแล้วท้องฟ้าแจ่มใสให้เด็กเปิดหูวิเศษฟังสัญญาณจากคุณครูให้เด็กที่น่ารักลุกขึ้นนั้งเป็นปลาดาวที่น่ารัก
เบรนยิม  Brain Gym
  1. กำ แบ
  2. แมงมุม
  3. ควาย  3 ตัว
จิตศึกษา
เด็กพับกระดาษแปลงร่างเป็นหมู 
คุณครูเล่าเรื่องเจ้าหญิงต่อจาก กิจกรรม Body Scan  เจ้าหญิงน้อยมีเพื่อนเป็นพี่กบแต่วันนี้พี่กบจะออกไปตามหาเพื่อนเก่าที่จากกันไปนานแสนนาน พี่กบจะออกเดินทาง ครูจะพับที่ละขั้นตอนไปพร้อมกับเด็ก จนออกมาเป็นหมูและถามเด็กว่า พี่กบออกไปตามหาใคร สิ่งที่เด็กพับออกมาเป็นตัวอะไร และตั้งชื่อว่าอะไร
เป้าหมายของการจัดกิจกรรม
  1. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือประสานสัมพันธ์กับตา
  2. มีความคิดจินตนาการสร้างสรรค์
  3. บอกและอธิบายผลงานของตนเองได้
ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม
จากกการทำกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับคำแนะนำจากคุณครูแดงและน้องฝึกสอนเพิ่มเติมหลังจากการการทำกิจกรรม ในการเพิ่มเสียงในการพูด การใช้เวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม เป็นการพับที่ง่ายไม่ซับซ้อมเหมาะสมกับวัย

PBL  ของน้องอนุบาลของสัปดาห์นี้
  ครูสร้างแรงโดยการดูการ์ตูนเกี่ยวกับผักผลไม้ หมูบ้านกินผัก และให้เด็กวาดภาพสิ่งที่อยากเด็กเรียนรู้เรื่องอะไร และสรุปเรื่องที่เด็กอยากเรียนรู้ เด็กอยากเรียนรู้เรื่องผักผลไม้ ดอกไม้ และกระต่าย ครูจะขมวดเรื่องที่เด็กอยากรู้เรื่องกระต่ายและดอกไม้ให้อยู่ในเรื่องของผัก เด็กตั้งชื่อเรื่องของโครงงานของตนเอง เด็กจะช่วยกันตั้งชื่อแล้วครูเขียนบนกระดาน รวมเรื่องทั้งหมดที่เป็นเรื่องชื่อที่น่าสนใจ  3 ชื่อ ให้เด็กใช้สิทธิ์คนล่ะ 1  สิทธิ์ยกมือชอบชื่อไหนมากที่สุด สุดท้ายได้ชื่อที่เด็กชอบมากที่สุด คือ ผักจ๋า นาชิม ในสัปดาห์นี้ระหว่างการเดินสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียนในระหว่างเดินสำรวจสร้างแรงโดยการเดินบริเวณที่ผักที่กินได้สดๆและส่งคำถามเกี่ยวกับผักที่เด็กเคยเห็น เคยทาน และผักแต่ล่ะชนิดนำไปทำอะไรได้บ้าง

PBL ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดห์ของการตั้งชื่อโรงงาน ของพี่ป.1 โดยการใช้เสนอชื่อที่เด็กชอบบนกระดานและยกมือเลือกชื่อที่ชอบมากที่สุด ครูสรุปพี่ป. 1 ชื่อโครงงาน ราชาในวังกระดาษ ครูนำหน้ากากมาให้เด็กดูและถามสิ่งที่ครูนำมาให้ดูทำมาจากอะไรและให้เด็กเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับกระดาษ 









วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกวันที่ 22 ตุลาคม 2557
สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้ลงมือทำสื่อการเรียนการสอนของการเรียนใน Quarter 3 ในการทำสื่อฝึกให้รู้ว่าเมื่อเราจะทำสื่อแต่ละชิ้นต้องมีลูกเล่น ละเอียดอ่อน เช่น การใช้สีสัน การใช้ตัวอักษรให้ถูกหลัก การใช้ภาษา การสร้างชิ้นงานให้น่าสนใจ เพื่อให้เด็กได้สังเกตจากชิ้นงานได้เกิดการเรียนรู้รวดเร็วมากที่สุด
2.ปรึกษาวางแผนเกี่ยวกับวางการนั่งในชั้นเรียนเพื่อการควบคุมในชั้นเรียนให้ง่ายมากขึ้น
3.เรียนรู้เรื่องแผนฝึกการตั้งคำถามเพราะคำถามเป็นสิ่งสำคัญมากในการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้นำไปสู้เป้าหมาย เมื่อมีคำถามต้องมีการคิดให้เกิดคำตอบ

บันทึกการเรียนรู้ของวันที่ 23 ตุลาคม 2557
วันนี้คุณครูทุกคนที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้นำเสนอแผนการเรียนรู้ PBL โครงงาน ของแต่ละชั้น และ  PBL วิชาหลักของแต่ละชั้น
ชื่อแผนการเรียนรู้ PBL
ชั้นอนุบาล เรื่องผัก
ชั้นประถมศึกษาปีที่1 เรื่อง กระดาษ
ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 2 เรื่อง ของเล่น
ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 เรื่อง ระบบสุริยะและจักรวาล
ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 เรื่อง ของกินท้องถิ่น
ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 เรื่อง ของเล่นและของใช้ทุ่นแรง
ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 6 เรื่อง home
ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 1 เรื่อง การท่องเที่ยว
ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2 เรื่อง เงินเงินเงิน
ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 เรื่อง เติมกระปุกให้เต็มกระเป๋า
วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องแผนความแตกต่างระหว่าชั้นเรียนและการต่อยอดของการเรียนรู้ของ Qaerter 2 ไปสู่ Quarter 3 แต่ละกิจกรรมของแต่ชั้นเด็กได้เรียนรู้จริง ลงมือด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนเพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กได้เกิดความสนใจกระตุ้นให้อย่างที่จะเรียนรู้ เมื่อคุณครูที่เสนอแผนของตนเอง แผนของบางชั้นจะได้คำเสนอแนะจากครูท่านอื่นเพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับกิจกรรมให้กิจกรรน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้แง่คิดอีกมุมหนึ่งที่สามารถไปปรับกิจกรรมให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น 
การพูดคุยเรื่องหนังสื่อที่ได้อ่านของคุณครูลำปลายมาศพัฒนาแต่ละคน ได้แง่คิดมุมมองของความรู้สึกที่ถ่ายทอดบอกเล่าให้ฟัง หนังสือแต่ละเล่มที่คุณครูอ่านเป็นหนังสื่อวรรณกรรมต่างปรเะทศ บางเล่มเป็นเรื่องเล่าของชีวิตของตัวละครสอดแทรงความรู้แง่คิดบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย การอ่านหนังสื่อต้องอ่านด้วยหัวใจใช้สมองคิดและตีความเพื่อให้เข้าใจ หนังสื่อบางเรื่องบอกเล่าความทุกข์มากเป็นการสะท้อนความสึกของสังคม ได้มองหันกับมามองที่ตัวเด็กเพื่อปรับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้กับเด็กมากที่สุด






สรุปรายสัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์นี้ได้เรียนรู้

พฤติกรรมของเด็กแต่ล่ะคน
  สังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนเพื่อที่จะจัดการได้ถูกวิธี เพื่อที่เราสามารถเก็บเด็กและทำให้เขาสนใจที่จะเรียนรู้เวลาเราจัดกิจกรรม

การทำจิตศึกษา
  การใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเด็กจะได้ทำสิ่งที่แตกต่างเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งประสานสัมผัส การสอดแทรก สี ขนาด พัฒนาการคิด มีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เด็กทำแล้วได้คิดและสนุกในการทำกิจกรรม สิ่งที่นำมาทำเป็นกิจกรรมเป็นสิ่งที่อยู่รอบใกล้ตัวเด็ก หาได้ง่ายๆ

การใช้ภาษากับเด็ก
  การใช้ภาษากับเด็กเป็นสิ่งสำคัญ เด็กอนุบาลจะต้องระเอียดอ่อนในการใช้คำพูด ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ครูต้องพูดเพราะก่อนที่จะบอกให้เด็กพูดเพราะเพื่อที่จะให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตคำพูดของครู ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เคราพซึ่งกันและกัน ส่วนเด็กป.1เขาเริ่มโตแล้ว เขาเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้น ครูต้องระวังคำพูดที่ทำให้เด็กรู้สึกไม่ดี เขาจะสังเกตการคำมากขึ้น บางเรื่องที่ครูพูดเด็กจะเลียนแบบต้องระวังให้มากๆ

การใช้สายตาในการมองเด็ก
  การใช้สายตาต้องมองเด็กในการทำกิจกรรมทุกคนสบตาอย่างอ่อนโยน สบตาเด็กเมื่อเวลาเราพูดกับเขาเพราะการมองตาเขาจะทำให้เขารู้ว่าเราพูดคุยกับเขาด้วยความรัก และสนใจเขาเมื่อเวลาพูดคุยสังเกตเด็กเขาอยากคุยกับเราเขาจะมองหน้าและมองตาเราให้เราคุยกับเขา 

การตั้งคำถาม
  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กที่จะเกิดการเรียนรู้ ครูต้องตั้งคำถามเป็น ตั้งคำถามที่เป็นปลายเปิด ครูต้องตั้งคำถามก่อนฝึกการตอบที่หลายหลายมาก่อนเพื่อที่จะหาเป้าหมายของเรื่องที่จะเรียนรู้

ครูต้องใจเย็น
  ในการทำงานต้องใจเย็นให้เวลาในการทำงาน รอเขาให้เขาได้ฝึกคิดไม่ต้องเร่งรีบให้เด็กให้เด็กทำงานเร็ว ใช้นาฬิกาเป็นตัวกำหนดฝึกให้เด็กดูนาฬิกาตั้งแต่อนุบาล ให้เด็กจัดการตัวเองมากกว่าที่เราจะไปจัดการตัวเอง ให้เขาดูแลตัวเอง

การทำ Body Scan
- การใช้น้ำเสียงที่อ่อนหวาน ทำให้เด็กได้ผ่อนคลาย การสะกดอารมณ์ของเด็กให้ผ่อนคลายไปตมเสียงพูดของเรา
- การเก็บเด็กเวลาทำกิจกรรมอย่างนิ่มนวลไม่ทำให้เสียบรรยายการ ให้คนที่ดูและตัวเองได้ช่วยดูแลเพื่อนที่ยังดูแลไม่ได้
- การเล่าเรื่องที่เด็กสามารถจินตนาการได้ง่ายที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ปรับพฤติกรรม

การสร้างแรงให้เกิดการเรียนรู้
  สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการสร้างแรงอนุลาลเรื่องผักพาการสร้างแรงโดยการปลูกตัวผักต่างๆ และพาเขาดูแลต้นผักของตัวเองและสอดแทรกเพลงที่เกี่ยวกับและป.1เรียนเรื่องกระดาษโดยให้โจทย์ที่เป็นปัญหาเด็กทำให้เด็กอยากที่จะเกิดการเรียนรู้ครูพาสังเกตต้นไม้ เขียนกระดาษชนวน ให้งานโดยการไม่ใช้กระดาษ


วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 24 ตุลาคม 2557
คิดชื่อเรื่องหน่วยการเรียนรู้แยกชื่อเรื่องให้เข้ากับการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ 
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม
3. ธรรมชาติรอบตัว
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
เพิ่มเติมประสบการสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
2. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
4. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
สอดแทรงพื้นฐานด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปวิเคราะห์หลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนการเรียนรู้
จัดเตรียมห้องเรียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในวันเปิดเทอมเพื่อให้เกิดความสนใจที่อยากจะเรียนรู้


วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2557

สิ่งที่รับมอบหมาย
1.ทำ Mind map การเรียนรู้ของน้องอนุบาล 1
2.เรียนรู้เกี่ยวกับแผน PBL เรื่องผัก
3.เรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งคำถาม การใช้คำถามให้เหมาะสมกับวัย           4.คิดกิจกรรมการเรียนการสอน                                   5.หาสื่อเตรียมเปิดการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ